เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ของ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เหรียญกษาปณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[lower-alpha 1]

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนกวิทยาศาสตร์ ทรงร่วมสอบคัดเลือกเช่นเดียวกับนักเรียนอื่น ๆ และทรงผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2518[123][124] โดยทรงเลือกสาขาวิชาเคมีเป็นวิชาเอก เนื่องจากทรงตั้งปณิธานว่าจะทรงนำความรู้มาใช้ในงานทดลองของโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งนับเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ที่สอง" ที่ทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[125]

ทั้งนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา เป็นพระอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดระยะเวลาที่ทรงศึกษา ระหว่างที่ทรงศึกษาได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถทั้งในการศึกษาและการวิจัย และในระหว่างปิดภาคเรียนชั้นปีที่ 3 ทรงปฏิบัติการฝึกงานตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย โดยเสด็จไปฝึกงาน ณ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย และทรงสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2522 และมีผลการเรียนดีเด่น ทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ในฐานะที่ทรงสอบได้คะแนนยอดเยี่ยมตลอดหลักสูตร และทรงเข้ารับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2522[126] รวมทั้งทรงได้รับรางวัลจากมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ สำหรับคะแนนยอดเยี่ยมในสาขาวิชาชีววิทยาและสาขาเคมีด้วย[127]

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา พระอาจารย์ที่ปรึกษาและอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เขียนไว้ตอนหนึ่งในหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า[128][129]

...สิ่งที่ควรกล่าวถึงอีกอย่างหนึ่ง คือ ความสามารถของด้านปฏิบัติการ เคมีเป็นวิทยาศาสตร์ทดลอง ดังนั้น ตลอดเวลา 3 ปี หลังจากที่ทรงเรียนเคมีโดยเฉพาะนี้ ทูลกระหม่อมต้องทรงใช้เวลามากในห้องปฏิบัติการ การทำงานทดลองของพระองค์เป็นไปอย่างมีระบบ กล่าวคือ ก่อนทำการทดลองได้พยายามเข้าพระทัยถึงวัตถุประสงค์ของการทดลอง วิธีการและขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อลงมือทำงานก็ทรงดำเนินการไปตามที่กำหนดไว้เป็นลำดับขั้นตอน ผลจึงปรากฏว่ามักจะทรงทำเสร็จรวดเร็ว ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายและได้ผลดี ทั้งยังทรงสังเกตและทรงใช้ไหวพริบตัดสินพระทัยปฏิบัติ ทรงมีลักษณะคุณสมบัติที่จะเป็นนักวิจัยที่ดีต่อไป...— ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.กฤษณา ชุติมา

นอกจากนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงบรรยายพิเศษ หัวข้อเรื่อง “ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพิษของสารเคมี” แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2553[130] ณ ห้องบรรยาย ชั้น 6 อาคารกฤษณา ชุติมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นถิ่นศึกษาเดิม และพระราชทานพระมหากรุณาต่อการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ตลอดมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ http://www.alquimicos.com/oq_reg/internacionales/i... http://maps.google.com/maps?ll=13.8454802,100.5714... http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailconten... http://ptg.listedcompany.com/misc/PRESN/20180425-p... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.8454... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://chemistryolympiad.weebly.com/uploads/8/2/4/... http://www.globalguide.org?lat=13.8454802&long=100... http://ku-alumni.org/download/student.pdf